Skip to main content
ERI Podcast

ERI Podcast

By ERI Chula

ERI Podcast จะเป็นช่องทางในการสื่อสาร พูดคุยในเรื่องประเด็นทางด้านพลังงานที่กำลังเป็นกระแส หรือเป็นที่สนใจในประเทศไทย และแทรกความรู้ทางด้านงานวิจัยผ่านมุมมองนักวิจัยของสถาบันฯ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังงานรับเชิญ เพื่อให้ภาคสังคมเข้าถึงได้เกิดการตระหนักรู้ และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของพลังงาน
Currently playing episode

EP.6 I “Biorefinery เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ERI PodcastSep 29, 2022

00:00
15:25
Ep.12 I ตรวจดวงชะตาภาคพลังงานไทย อีกไกลแค่ไหนถึงจะใกล้เป้าหมายความยั่งยืน

Ep.12 I ตรวจดวงชะตาภาคพลังงานไทย อีกไกลแค่ไหนถึงจะใกล้เป้าหมายความยั่งยืน

Ep.12 I ตรวจดวงชะตาภาคพลังงานไทย อีกไกลแค่ไหนถึงจะใกล้เป้าหมายความยั่งยืน

Dec 27, 202227:44
EP.11 I “Energy transition” เปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างไร ให้เดินไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

EP.11 I “Energy transition” เปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างไร ให้เดินไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

เรายังคงอยู่ในเรื่องของ energy transition หรือการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน หลังจากที่เราได้ถอดบทเรียนจากประเทศเยอรมนี ด้านการดำเนินการสู่การเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน รวมถึงวิธีการที่เค้ารับมือกับวิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้น เพื่อยังสามารถดำเนินการสู่การบรรลถเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ ใน episode นี้นะคะ เราจะมาพูดคุย co-benefit หรือผลประโยชน์ร่วมด้านอื่นๆที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึงไขข้อสงสัยมีการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น จะส่งผลให้ค่าไฟแพงขึ้นมั๊ย และเราจะทำอย่างไรให้พวกเราทุกคนสามารถเปลี่ยนผ่านทางพลังงานไปพร้อมกันได้ โดยไม่ทิ้งใครไว้อย่างหลัง

Dec 27, 202228:18
EP.10 I "Energy transition" ถอดบทเรียนจากเยอรมนี เปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างไรให้อยู่รอดภายใต้วิกฤติพลังงาน

EP.10 I "Energy transition" ถอดบทเรียนจากเยอรมนี เปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างไรให้อยู่รอดภายใต้วิกฤติพลังงาน

EP.10 จะเป็นเรื่องราวของ energy transition หรือการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน ะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่การทำมานานแล้ว ในหลายๆประเทศ อย่างเช่น ประเศเยอรมนี ถือเป็นประเทศที่มีผู้นำด้านเทคโนโลยีและมีการทำเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่องมานาน และในปัจจุบันประเทศในอาเซียน และประเทศไทย มีการทำเรื่องนี้อย่างจริงจังเช่นกัน โดยดำเนินการสนับสนุนพลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่จากสถานการณ์วิกฤติพลังงาน อย่างที่เราทราบกันดี สงครามรัสเซียยูเครน ส่งผลต่อความเสี่ยงทั้งปัญหาขาดแคลนพลังงานและราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น และอาจจะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายความเป็นกลางคาร์บอนที่หลายๆประเทศรวมถึงประเทศได้ไปประกาศไว้ที่ COP 26 หรือไม่ ใน EP นี้จะมาไขข้อสงสัยรวมถึง รวมถึงถอดบทเรียนจากประเทศเยอรมนีว่า เค้ามีมาตรการในการรับมือกับวิกฤติพลังงานโลกอย่างไร เพื่อยังสามารถดำเนินการสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ วันนี้เราจะมาพูดคุยกับ ดร.สิริภา จุลกาณจน์ หรือดร. ปุ้ย นักวิจัยของสถาบันวิจัยวิจัยพลังงาน 

Dec 21, 202221:07
EP. 9 I "Sustainable Urban Mobility"

EP. 9 I "Sustainable Urban Mobility"

กิจกรรมการเดินทางในเมือง หรือ urban mobility เป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมนี้เป็นส่วนไหนี่งที่สำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในวันนี้ เราจะมาพูดคุยเกี่วกับ concept หลักการของรูปแบบการเดินทางในเมืองในปัจจุบันรวมถึง เทรนด์ในอนาคต และการพัฒนาเดินทางในเมืองให้มีความอย่างยั่งยืน

Dec 08, 202228:10
EP. 8 I คาร์บอนเครดิต โครงการลักษณะใดสามารถนำไปขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิตและไปซื้อขายในตลาดได้?

EP. 8 I คาร์บอนเครดิต โครงการลักษณะใดสามารถนำไปขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิตและไปซื้อขายในตลาดได้?

โครงการลักษณะใดสามารถนำไปขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิตและไปซื้อขายในตลาดได้?

Nov 11, 202224:40
EP.7 I waste valorization: กุญแจสำคัญสู่ net zero emission อย่างยั่งยืน

EP.7 I waste valorization: กุญแจสำคัญสู่ net zero emission อย่างยั่งยืน

ปัจจุบันปัญหาของขยะจากการเกษตรในประเทศไทยยังคงมีปัญหาการจัดการที่ไม่เหมาะสมและมีการนำไปใช้ประโยชน์น้อย ขยะเกษตรถ้าบางตามสถานที่สุดท้ายที่มันอยู่ ก็จะมีที่ filed และอีกที่หนึ่งก็คือที่โรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีการนำขยะหรือของเสียมาเพิ่มมูลค่า หรือเรียกว่าแนวคิดแบบ waste valorization  เพื่อช่วยบริหารจัดการปัญหาของขยะจากการเกษตรในประเทศไทย รวมถึงการนำขยะจากภาคการเกษตรมาเพิ่มมูลค่าในรูปแบบของพลังงาน และสามารถเป็น zero waste ได้ แนวคิดนี้คืออะไร มีภาคส่วนไหนที่นำแนวคิดนี้ไปใช้บ้าง พร้อมทั้งข้อดีข้อเสียในการช่วยบริหารจัดการขยะจากการเกษตรได้อย่างไร มาร่วมกันหาคำตอบกันใน EP นี้ค่ะ

Oct 20, 202223:60
EP.6 I “Biorefinery เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

EP.6 I “Biorefinery เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ (Biorefinery) ซึ่ง สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model หลายๆท่านน่าจะเคยได้ยิน BCG model หรือที่เรียกว่า Bio-circular-green Economy Model ซึ่งรูปแบบนี้จะส่งเสริมการเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร และเพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน สำรับ EP ในวันนี้นะคะ เราจะพูดคุยถึงความสำคัญของอุตสาหกรรม Bio-refinery ในการช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศ ลดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมของประเทศ

Sep 29, 202215:25
EP.5 I ถึงเวลาแล้ว….ขับเคลื่อนน้ำมันขยะพลาสติกสู่พลังงานยั่งยืน

EP.5 I ถึงเวลาแล้ว….ขับเคลื่อนน้ำมันขยะพลาสติกสู่พลังงานยั่งยืน

ขยะพลาสติกเป็นปัญหาระดับชาติและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งในช่วงสภาวะการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การบริการ Food Delivery และ Online Shopping เพิ่มขึ้น ขยะพลาสติกยิ่งเพิ่มจำนวนสูงขึ้น การนำขยะพลาสติกมาผลิตน้ำมันมีการดำเนินงานในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี เกิดจากแนวคิดว่า “ในขยะมูลฝอยยังคงมีพลังงานที่เหลืออยู่ภายในและสามารถเปลี่ยนรูปกลับมาใช้ประโยชน์ได้” โดยกระบวนการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันส่วนใหญ่ยังคงเป็นเทคโนโลยีไพโรไลซิส อย่างไรก็ตาม การดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน ยังคงมีปัญหาอุปสรรค จะขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้าได้อย่างไร มาลองรับฟังกันใน EP.5 นี้ค่ะ

Sep 15, 202225:41
EP.4 I Fifty shades of Hydrogen ความท้าทายในกระบวนการผลิตเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

EP.4 I Fifty shades of Hydrogen ความท้าทายในกระบวนการผลิตเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

สำหรับ EP.4 เราจะมา Deep dive เจาะลึกถึงกระบวนการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตไฮโดรเจน รวมถึงสารตั้งต้นที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความหลากหลายของไฮโดรเจนแต่ละสีได้อย่างไร รวมถึงเทคโนโลยีที่จะช่วยมาดักจับคาร์บอนในกระบวนผลิตของไฮโดรเจน

Jun 21, 202242:36
EP.3 I "พลังงานไฮโดรเจน" จิ๊กซอว์สำคัญของการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานไทย

EP.3 I "พลังงานไฮโดรเจน" จิ๊กซอว์สำคัญของการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานไทย

ไฮโดรเจนมีศักยภาพเป็นพลังงานทางเลือกที่จะช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมาย carbon neutrality และ net zero emissions ได้ ทั้งนี้ เพื่อผลักดันการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ภาครัฐควรเพิ่มแรงสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมและจริงจังในการพัฒนาตลาด พร้อมกับการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ผลิต เพื่อให้เกิด demand และsupply ที่เพียงพอควบคู่กัน รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน และกฎระเบียบต่างๆ ที่ครอบคลุมการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่อุปทานของไฮโดรเจน


พลังงานไฮโดรเจนคืออะไร จะช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนได้จริงหรือ และภาครัฐต้องทำอย่างไร จึงจะช่วยผลักดันการใช้พลังงานไฮโดรเจนได้อย่างเป็นรูปธรรม

May 26, 202218:39
EP.2 I ปรับตัวอย่างไร ให้เดินต่อไปถึง ภาคอุตสาหกรรมกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

EP.2 I ปรับตัวอย่างไร ให้เดินต่อไปถึง ภาคอุตสาหกรรมกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

สำหรับ Episode 2 เราจะชวนฟังในประเด็นเกี่ยวกับการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมไทยกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนที่สูง รองลงมาจากภาคพลังงาน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญ คือกลุ่มธุรกิจใหญ่ๆ

May 10, 202235:32
EP:1 I การปรับโครงสร้างภาคพลังงานของไทยภายใต้กรอบอนุสัญญา COP26

EP:1 I การปรับโครงสร้างภาคพลังงานของไทยภายใต้กรอบอนุสัญญา COP26

จากที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 หรือ COP 26 ที่ผ่านมา ประเทศไทยตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero) ภายในปี ค.ศ. 2065 เป้าหมายดังกล่าว ถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญและท้าทายของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการผลิตไฟฟ้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด ดังนั้นภาคพลังงานไทยจะต้องปรับโครงสร้างอย่างไรเพื่อสอดรับกับเป้าหมายดังกล่าวโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสตามข้อตกลง Paris agreement

EP.1 พูดคุยกับอาจารย์โด่ง รองศาสตราจารย์ ดร. กุลยศ อุดมวงศ์เสรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน อาจารย์ประจำภาควิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปด้านพลังงาน

Mar 21, 202231:08